แจ้งโอนเงิน วิธีสั่งซื้อ
ตรวจสอบราคา How to buy สามารถสั่งซื้อได้ทุกวัน ตลอด 24 ชม.

เช็กให้ชัวร์! ใคร/แอปอะไรเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณมากแค่ไหน กับฟีเจอร์ Safety Check 

Safety Check ฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณตรวจสอบและตั้งค่าการแชร์และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ใน iPhone, iPad ของคุณ เข้าไปใช้ด่วน เช็กให้ชัวร์ว่าใครแอบดูข้อมูลของคุณอยู่บ้าง! (พร้อมวิธีใช้งาน) 

ฟีเจอร์ Safety Check ใน iPhone คือเครื่องมือเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) ที่ Apple ออกแบบเพื่อปกป้องความปลอดภัยของผู้ใช้งานและปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานที่อยู่ในเครื่องเอาไว้ โดยที่คุณสามารถควบคุมการเข้าถึงอุปกรณ์และข้อมูลในเครื่องได้

ฟีเจอร์ Safety Check ใน iOS 16 ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปรีวิวและจัดการได้ว่ารายชื่อผู้ติดต่อ แอป และอุปกรณ์จะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณได้มากน้อยแค่ไหน 

แม้ว่าจะเปิดใช้ฟีเจอร์ Safety Check ผู้ใช้ก็ยังสามารถอัปเดตรหัสผ่าน (Password) ของอุปกรณ์และรหัสผ่าน Apple ID ได้เองอย่างง่ายดาย และนี่คือวิธีการเข้าใช้งานฟีเจอร์ Safety Check บนอุปกรณ์ของคุณ

วิธีเข้าถึงและใช้งานฟีเจอร์ Safety Check 

  • เปิดแอป Settings จากนั้นเลือกที่ Privacy & Security > Safety Check

หากยังคงรู้สึกว่าความปลอดภัยมันยังน้อยไป คุณสามารถเลือก Emergency Reset เพื่อเปิดใช้งานการเข้าถึง ‘ทุกอย่าง’ ที่คุณอนุญาตให้กับคนอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นประกอบไปด้วยข้อมูลตำแหน่ง (Location) ผ่านแอปอย่าง Find My การอนุญาตให้แอปต่าง ๆ และบริการของ Apple ได้ถึงข้อมูลต่าง ๆ เช่น รูปภาพ รายชื่อผู้ติดต่อ และอื่น ๆ ตัวเลือกนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้คนอื่น ๆ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวที่มีความละเอียดอ่อนมากเป็นพิเศษได้ทันที 

หากต้องการเลือกว่าจะแชร์ข้อมูลอะไรให้กับใครบ้างแบบระบุเจาะจง คุณก็สามารถทำได้ เพียงทำตามนี้เพิ่มเติม คือ เข้าไปที่ Manage Sharing & Access 

เมื่อคุณกด Manage Sharing & Access แล้ว ฟีเจอร์ Safety Check จะแสดงรายละเอียดภาพรวมทั้งหมดของคนที่แชร์ข้อมูลต่าง ๆ ให้ รวมถึงรายชื่อแอปที่เข้าถึงข้อมูลของคุณได้ ทั้งหมดนี้รวมถึงการเข้าถึงกระบวนการการรีวิวต่าง ๆ ที่ต้องเข้าถึงการแชร์ตำแหน่งที่ตั้ง การแชร์รูปภาพ และการเข้ารายชื่อผู้ติดต่อกับปฏิทินด้วย ดังนั้นคุณจึงสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะให้ใครหรือแอปไหนเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้บ้าง

เมื่อคุณรีวิวว่าจะแชร์ข้อมูลและให้คนหรือแอปเข้าถึงข้อมูลใดบ้าง ฟีเจอร์ Safety Check จะพาคุณไปยังส่วนต่อไปคือความปลอดภัยของบัญชี 

ขั้นแรกคุณจะต้องรีวิวและจัดการ ‘รายชื่อผู้ติดต่อฉุกเฉิน’ หรือ Emergency Contacts ซึ่งบุคคลนี้จะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อคุณใช้งาน Emergency SOS ทันทีที่คุณกดมันหรือแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อระบบตรวจจับได้ถึงการล้มหรือเจอกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ 

จากนั้นฟีเจอร์ Safety Check จะถามคุณให้รีวิวอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ซิงค์กับ iPhone หากคุณจำไม่ได้ว่า iPhone ของคุณซิงค์กับอุปกรณ์อื่น ๆ ไว้ คุณสามารถลบ (Remove) มันออกไปได้

ฟีเจอร์ Safety Check จะแนะนำระบบการรักษาความปลอดภัยให้กับ iPhone และข้อมูลส่วนตัวของคุณ คุณยังถูกขอให้ Activate (เปิดการใช้งาน) Private Relay (การป้องกันการติดตามผู้ใช้ iOS เมื่อใช้ Safari ที่อยู่ IP ของผู้ใช้จะถูกซ่อนเอาไว้) และรีวิวอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับ Apple ID เอาไว้ และการอัปเดตรหัสผ่าน Apple ID 

ขั้นตอนสุดท้าย ฟีเจอร์ Safety Check จะขอให้คุณอัปเดต Passcode ของ iPhone ซึ่งหากว่าคุณไม่ได้อัปเดต Passcode มาสักระยะ คุณควรฝึกอัปเดตให้เป็นประจำ เพราะว่า Passcode ถือเป็นตัวกรองสำคัญด้านความปลอดภัยอีกหนึ่งอย่าง ซึ่งอาจสำคัญมากกว่า Face ID หรือ Touch ID ในบางกรณี

ฟีเจอร์ ฟีเจอร์ Safety Check คืออุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่พาผู้ใช้งานเข้าไปตรวจสอบส่วนสำคัญ ๆ ของอุปกรณ์และความปลอดภัยของข้อมูล มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานที่ไม่ค่อยคล่องเรื่องการรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) และการอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ 

หากคุณไม่เคยใช้ฟีเจอร์ Safety Check มาก่อน เราขอแนะนำให้คุณเข้าไปใช้งานและตรวจสอบอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อดูว่าคุณได้แชร์ข้อมูลอะไรให้ใครและแอปใดบ้าง ได้เผลอแชร์ไปยังคนหรือแอปที่สุ่มเสี่ยงโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ เพื่อความปลอดของคุณมูลและอุปกรณ์ของคุณเอง 

ที่มา idropnews.com